คอร์ด (Chord)

Piano Chord.pdf

คอร์ดเมเจอร์

คอร์ดเมเจอร์ เป็นคอร์ดพื้นฐานที่สุด ที่ทุกคนต้องรู้จักเป็นอันดับแรก โดยชื่อเต็ม ๆ คือ Major แต่นิยมเขียนเฉพาะชื่อคอร์ดเฉย ๆ เช่น C Major จะเขียนว่าคอร์ด C เฉย ๆ เวลาอ่าน จะอ่านว่า คอร์ด C เมเจอร์ เป็นคอร์ดที่ให้ความรู้สึกสดใส ร่าเริง สนุกสนาน

โครงสร้างคอร์ด

โน้ตที่ 1 กับโน้ตที่ 2 ห่างกัน 2 เสียง

โน้ตที่ 2 กับโน้ตที่ 3 ห่างกัน 1.5 เสียง

เช่น คอร์ด C มีโน้ต C E G

Major = 1 3 5

คอร์ดไมเนอร์

คอร์ดไมเนอร์ เป็นคอร์ดที่ฟังแล้วจะเกิดความรู้สึกหม่นหมอง เวลาเขียน จะนิยมเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็ก m กำกับไว้ ตัวอย่างเช่น คอร์ด C minor จะเขียนว่า Cm, A minor จะเขียนว่า Am

โครงสร้างคอร์ด

โน้ตที่ 1 กับโน้ตที่ 2 ห่างกัน 1.5 เสียง

โน้ตที่ 2 กับโน้ตที่ 3 ห่างกัน 2 เสียง

เช่น คอร์ด Am มีโน้ต A C E

Minor = 1 ♭3 5

คอร์ดเซเวนท์

เป็นคอร์ดที่มีโน้ต 4 ตัว ชื่อเต็ม ๆ คือคอร์ด "Dominant 7th" แต่นิยมเขียนเลข 7 เฉย ๆ เวลาอ่าน จะอ่านว่า "เซเวนท์" รวมทั้งในภาษาไทยด้วย ยกตัวอย่างเช่นคอร์ด G7 จะอ่านว่า "จี เซเวนท์" ไม่มีใครอ่านว่า "จี เจ็ด" นะครับ

โครงสร้างคอร์ด

โน้ตที่ 1 กับโน้ตที่ 2 ห่างกัน 2 เสียง

โน้ตที่ 2 กับโน้ตที่ 3 ห่างกัน 1.5 เสียง

โน้ตที่ 3 กับโน้ตที่ 4 ห่างกัน 1.5 เสียง

เช่น คอร์ด C7 มีโน้ต C E G B♭

คอร์ด G7 มีโน้ต G B D F

7 = 1 3 5 ♭7

คอร์ดเมเจอร์เซเวนท์

เป็นคอร์ดทางเมเจอร์ที่มีโน้ต 4 ตัว แล้วมีการเพิ่มโน้ตตัวที่ 7 เข้าไป . . . สำหรับชื่อเต็ม ๆ คือคอร์ด "Major 7th" เวลาอ่าน จะอ่านว่า "เมเจอร์เซเวนท์" . . . ส่วนเวลาเขียน จะเขียนชื่อคอร์ด แล้วก็ตามด้วย maj7 เช่นคอร์ด Cmaj7 อ่านว่า "คอร์ด ซีเมเจอร์เซเวนท์" ไม่ได้ออกเสียง "เจ็ด" เป็นภาษาไทยนะครับ

โครงสร้างคอร์ด

จับคอร์ด เมเจอร์ (ปกติ) แล้วเพิ่มโน้ตตัวที่ 7 ที่อยู่ในสเกลเข้าไป เช่นคอร์ด Cmaj7 การจับทำได้โดยการจับคอร์ด C ตามปกติ แล้วเพิ่มโน้ตตัวที่ 7 ในสเกลเข้าไป ก็คือโน้ตตัว B

เช่น คอร์ด C มีโน้ต C E G B

maj7 = 1 3 5 7

คอร์ดไมเจอร์เซเวนท์

เป็นคอร์ดไมเนอร์ที่มีโน้ต 4 ตัว แล้วมีการเพิ่มโน้ตตัวที่ 7 เข้าไป . . . สำหรับชื่อเต็ม ๆ คือคอร์ด "Minor 7th" เวลาอ่าน จะอ่านว่า "ไมเนอร์เซเวนท์" . . . ส่วนเวลาเขียน จะเขียนชื่อคอร์ด แล้วก็ตามด้วย m7 (เอ็มตัวเล็ก แล้วก็เลข 7)

เช่น คอร์ด Am7 อ่านว่า "คอร์ด เอไมเนอร์เซเวนท์"

เช่น คอร์ด Dm7 อ่านว่า "คอร์ด ดีไมเนอร์เซเวนท์"

เช่น คอร์ด Em7 อ่านว่า "คอร์ด อีไมเนอร์เซเวนท์"

โครงสร้างคอร์ด

จับคอร์ด ไมเนอร์ (ปกติ) แล้วเพิ่มโน้ตตัวที่ 7 ที่อยู่ในสเกลเข้าไป เช่นคอร์ด Am7 การจับทำได้โดยการจับคอร์ด C ตามปกติ แล้วเพิ่มโน้ตตัวที่ 7 ในสเกลเข้าไป ก็คือโน้ตตัว B

เช่น คอร์ด Am7 มีโน้ต A C E G

คอร์ด Dm7 มีโน้ต D F A C

m7 = 1 ♭3 5 7

คอร์ดซัสเพนเด็ด (ซัส)

เป็นคอร์ดซัส หรือชื่อเต็ม ๆ คือ คอร์ดซัสเพนเด็ด (Suspended) คือคอร์ดที่เอาโน้ตตัวกลางออกไป แล้วแทนที่ด้วยโน้ตตามที่ระบุ ซึ่งคอร์ด SUS ที่พบบ่อย จะมี 2 แบบคือ sus2 กับ sus4

ถ้าเป็นคอร์ด sus2 ก็ให้เอาโน้ตตัวกลาง ซึ่งก็คือตัวที่ 3 ออกไป แล้วแทนที่ด้วยโน้ตตัวที่ 2 ในสเกล

ถ้าเป็นคอร์ด sus4 ก็ให้เอาโน้ตตัวกลาง ซึ่งก็คือตัวที่ 3 ออกไป แล้วแทนที่ด้วยโน้ตตัวที่ 4 ในสเกล

ตัวอย่างเช่น

คอร์ด Csus4 จะประกอบด้วยโน้ต C F G

คอร์ด Csus2 จะประกอบด้วยโน้ต C D G


โครงสร้างคอร์ด

วิธีการจับคอร์ด ก็ให้จับคอร์ดเมเจอร์ (ปกติ) แล้วเอาโน้ตตัวกลางออกไป แล้วแทนที่ด้วยโน้ตตามตัวเลขที่เห็น

เช่น คอร์ด Gsus4 จะประกอบด้วยโน้ต G C D

sus4 = 1 4 5
sus2 = 1 2 5

คอร์ด sus โดยปกติแล้ว เวลาเล่นจะทำให้เกิด tension คือเกิดความเครียดในเสียง ซึ่งไม่สามารถจบได้ โดยปกติจึงเป็นที่รู้จักว่า พอเล่นคอร์ด sus แล้ว จะต้องกลับมาที่คอร์ดหลักเสมอ เช่น ถ้าเล่น Csus4 ต่อไปจะต้องกลับมา C เสมอ . . . ดังนั้นในหนังสือเพลง หรือการเขียนคอร์ดกำกับ บางทีจึงไม่ได้เขียนเอาไว้ แต่เป็นที่รู้กันครับ